กลับสู่หน้าบทความ
7 เคล็ดลับ สอบเข้ามหิดลวิทยานุสรณ์ หากตั้งใจสอบเข้าได้ชัวร์
19 สิงหาคม 2567 13:19:09
ศึกษาเรื่องรายละเอียดสอบเข้าอย่างรอบคอบ
‘รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง’ ปรัชญาข้อนี้ของ ‘ซุนวู’ สามารถปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่การเตรียมตัวสู่เส้นทางมหิดลวิทยานุสรณ์ด้วยการสอบเข้า ดังนั้นเคล็ดลับข้อแรกคือการศึกษาเรื่องรายละเอียดสอบเข้าอย่างรอบคอบโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘MWIT’ คือโรงเรียนที่จะเปิดรับสมัครเฉพาะนักเรียนที่จะเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่านั้น โดยในแต่ละปีจะมีการแบ่งการสอบออกเป็น 2 รอบ โดยคนที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกจะต้องสมัครเพื่อสอบคัดเลือกรอบสองต่อไป
สำหรับรอบแรก จะเปิดรับสมัครในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และจะมีการสอบช่วงกลาง – ปลายเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งถ้าหากผ่านการคัดเลือกในรอบนี้ ก็ต้องดำเนินการสมัครสอบในรอบที่สอง ซึ่งจะเปิดรับในช่วงกลางเดือนมกราคมของปีถัดไป ส่วนวันสอบรอบสอง จะเป็นไปตามประกาศของทางโรงเรียน ซึ่งในแต่ละปีจะแตกต่างกันออกไป
โดยน้อง ๆ นักเรียนที่ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องศึกษาต่อในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ให้ได้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ www.mwit.ac.th คลิกที่ “การรับเข้าศึกษา” จากนั้นกรอกรายละเอียดพร้อมส่งหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
อีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้เพื่อให้สามารถเตรียมตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพคือวิชาที่ต้องใช้สอบ โดยทางโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้กำหนดวิชาสำหรับสอบเข้าไว้เพียง 2 วิชาเท่านั้น ได้แก่
- คณิตศาสตร์ ในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ เช่นการตีความ การแปลความ เป็นต้น
- วิทยาศาสตร์ โดยจะเป็นข้อสอบที่ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์
ลบจุดอ่อน-เสริมจุดแข็งของตัวเอง
แน่นอนว่าไม่มีใครที่จะเก่งหรือเชี่ยวชาญไปหมดในทุกหัวข้อของแต่ละวิชา ดังนั้น การเตรียมตัวขั้นต่อไปสู่การสอบเข้าในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์คือการหาจุดอ่อน พร้อมเสริมจุดแข็งให้สามารถทำข้อสอบได้อย่างราบรื่น โดยเริ่มจากการหาข้อสอบของปีก่อน ๆ มาฝึกทำ จากนั้นตรวจดูว่าคะแนนในส่วนใดเยอะหรือน้อย เพื่อให้รู้ว่าเราควรเสริมหรือเพิ่มเติมในส่วนใด เนื่องจากเวลาเตรียมตัวที่อาจมีอย่างจำกัด การทำเช่นนี้ จะเป็นตัวช่วยให้สามารถวางแผนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยให้น้อง ๆ รู้ว่าวิชาไหนที่เป็นจุดอ่อน จะได้จัดสรรเวลาในการติวเพิ่มเติมเป็นพิเศษหาคอร์สเรียนเสริมที่ตอบโจทย์
เมื่อรู้แล้วว่าตัวเองเชี่ยวชาญในหัวข้อไหนและไม่ถนัดวิชาใด ขั้นต่อไปก็คือการเสริมความรู้เข้าสู่คลังสมอง สำหรับวิชาหรือหัวข้อที่อ่านด้วยตัวเองแล้วไม่เข้าใจ ก็ควรที่จะหาคอร์สเรียนเพื่อเจาะไปยังหัวข้อที่ต้องการโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันมีคอร์สเรียนมากมายให้น้อง ๆ เลือกเรียน ทั้งการเรียนกับสถาบันกวดวิชา หรือเรียนตัวต่อตัวกับติวเตอร์เพิ่มเติมความรู้จากสื่อออนไลน์
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการความรู้จากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติม ในปัจจุบันมีสื่อออนไลน์มากมายให้ได้เลือกศึกษากันแบบฟรี ๆ ซึ่งเป็นคลังความรู้ที่ไม่ว่าใครก็เข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะในแพลตฟอร์ม YouTube เพราะฉะนั้นใครที่อยากเข้าเรียนในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นี่คือช่อง YouTube ที่สามารถใช้เตรียมตัวสอบเข้าได้ด้วยเช่นกัน- Aimmuno
- Wannanap Channel
- AT HOME กวดวิชาออนไลน์
วาดภาพประกอบ Mind Map เสริมความเข้าใจ
อ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย University of British Columbia ที่ระบุว่า ‘สี’ ส่งผลต่อการจดจำของสมองมนุษย์ ดังนั้น หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหิดลวิทยานุสรณ์ ควรที่จะมีการจดโน้ตในเนื้อหาสำคัญต่าง ๆ ด้วยสีสันที่สดใสมีชีวิตชีวา รวมไปถึงการจัดกลุ่มความสำคัญของประเด็นต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบ Mind Map ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้นแบ่งเวลาให้มีประสิทธิภาพ
น้อง ๆ ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันในแต่ละวัน ดังนั้น คนที่สามารถแบ่งเวลาในการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ก็ย่อมได้เปรียบในการสอบเข้าด้วยเช่นกันสำหรับในช่วงเปิดเทอม นอกจากจะต้องตั้งใจเก็บเกี่ยววิชาความรู้ในห้องเรียนแล้ว ก็ควรที่จะใช้เวลา 1-3 ชั่วโมงก่อนนอนของทุกวันในการทบทวนวิชาความรู้ ส่วนในช่วงปิดเทอม ก็ไม่ควรที่จะตื่นสายเกินไป เพราะช่วงเช้าคือเวลาที่สมองจะทำงานได้อย่างเต็มที่ที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหักโหมจนเกินไป โดยแต่ละวันของช่วงปิดเทอมควรอ่านหนังสือ รวมถึงกวดวิชารวมกันไม่เกิน 10 ชั่วโมง
เตรียมตัวให้พร้อมในวันสอบจริง
ต่อให้จะมีความรู้เต็มคลังสมอง แต่ถ้าในวันสอบจริงอยู่ในสภาพที่ไม่โอเค ความฝันที่จะเข้าเรียนที่มหิดลวิทยานุสรณ์ด้วยการสอบเข้าก็อาจพังทลายลงได้ง่าย ๆ ดังนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมในวันสอบจริงจึงมีความสำคัญเช่นกัน โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้- นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- มาถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- จิบน้ำเปล่าบ่อย ๆ เนื่องจากน้ำจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้แจ่มใส
- ฝึกการทำสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อลดอาการตื่นเต้น
- เชื่อมั่นในตัวเองเข้าไว้ พยายามอย่าคิดในแง่ร้าย
- เมื่อได้ข้อสอบ ควรสำรวจคร่าว ๆ ก่อน 1 รอบ แล้วให้เริ่มทำข้อที่มั่นใจก่อน