ถึงเวลาตัดสินใจ! หมอกับวิศวะเรียนอะไรดี บทความนี้มีคำตอบ | Applied Physics
  กลับสู่หน้าบทความ

อ่านก่อนตัดสินใจ หมอกับวิศวะเรียนอะไรดี?

 04 ตุลาคม 2566 04:53:27

ด้วยหลากหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ค่อนข้างสูง การมีหน้ามีตาในสังคม หรือการได้ทำในสิ่งที่ท้าทายความสามารถ สิ่งเหล่านี้ทำให้อาชีพ “หมอ” และ “วิศวกร” คือ 2 อาชีพที่ได้รับความนิยมของคนไทยมาอย่างยาวนาน และเป็นความใฝ่ฝันของเด็ก ๆ ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังลังเลใจอยู่ว่า “หมอกับวิศวะเรียนอะไรดี?” บทความนี้จะมาไล่เลียงเปรียบเทียบให้เห็นภาพกันแบบชัด ๆ พร้อมช่วยตอบคำถามว่าระหว่างเรียนหมอกับวิศวะอันไหนเรียนยากกว่ากัน พร้อมแนะแนวทางการเตรียมตัวติวสอบเข้าแพทย์ และวิศวะ ติดตามได้เลย

หมอกับวิศวะ เรียนอะไรดี เหมาะกับตัวเองมากกว่ากัน

ขั้นตอนการสอบเข้า

วิธีการสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรัฐบาลในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ ดังนั้น หากต้องการหาคำตอบว่าหมอกับวิศวะเรียนอะไรดี น้อง ๆ ก็ควรที่จะทราบถึงระบบในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบด้าน

 

การสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ในปัจจุบันใช้ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) โดยแบ่งออกเป็น 4 รอบ ได้แก่

  • รอบที่ 1 Portfolio: พิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ผลคะแนนวิชาสามัญ ผลคะแนนวิชาความถนัดแพทย์ และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
  • รอบที่ 2 Quota: พิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ผลคะแนนวิชาสามัญ ผลคะแนนวิชาความถนัดแพทย์ และคุณสมบัติเฉพาะตามที่โครงการนั้น ๆ กำหนด
  • รอบที่ 3 Admission: พิจารณาจากผลคะแนนวิชาสามัญ ผลคะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ และคะแนนสอบสัมภาษณ์
  • รอบที่ 4 Admission by portfolio: พิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ผลคะแนนวิชาสามัญ ผลคะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

โดยคำว่า “วิชาสามัญ” ในปัจจุบันคือข้อสอบส่วนกลาง อย่าง TPAT1 และ A-Level ซึ่งเกณฑ์คะแนนที่ใช้คัดเลือกสำหรับคณะแพทย์คือ TPAT1 และ A-Level วิชาสามัญ

ในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รอบในการรับก็จะคล้ายคลึงกับคณะแพทยศาสตร์ เพียงแต่จะแตกต่างกันในส่วนของข้อสอบส่วนกลาง โดยจะเปลี่ยนมาใช้ TPAT3 และ A-Level วิชาสามัญ รวมถึงวิชาความถนัดแพทย์ ก็จะเปลี่ยนเป็นความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย

สำหรับคำถามที่ว่า หมอกับวิศวะอันไหนเรียนยากกว่ากัน คงไม่สามารถตอบได้ เพราะความยากง่ายขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล รวมถึงสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้เพื่อหาคำตอบว่าหมอกับวิศวะเรียนอะไรดี  มีดังต่อไปนี้

เนื้อหาวิชา

เนื้อหาวิชาหลักของคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ ชีววิทยา ชีวเคมี สรีรวิทยา พยาธิวิทยา เวชศาสตร์คลินิก ไปจนถึงการแพทย์เฉพาะทาง ในขณะที่เนื้อหาวิชาหลักของคณะวิศวะกรรมศาสตร์ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี วิศวกรรมศาสตร์ทั่วไป และวิชาวิศวกรรมในศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเคมี เป็นต้น

หลักสูตรการศึกษา

หลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วจะมีระยะเวลาเรียน 6 ปี ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ปีกับการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย และอีก 3 ปีในการเริ่มต้นศึกษาการทำงานจริงในโรงพยาบาล รวมถึงการขึ้นเวรด้วย โดยในช่วงเวลานี้ถือว่าค่อนข้างหนักหน่วงสำหรับนักศึกษาแพทย์ เพราะต้องแบ่งเวลาให้ดีเพื่อให้สำเร็จลุล่วงในหลักสูตร ส่วนหลักสูตรการของคณะวิศวกรรมศาสตร์จะคล้ายคลึงกับคณะอื่น ๆ ที่มีระยะเวลาเรียนใน 4 ปี

หมอ กับ วิศวะ อัน ไหนเรียนยากกว่า จบแล้วได้เงินเดือนเท่าไร

เส้นทางอาชีพหลังเรียนจบ

จากหัวข้อที่แล้ว น่าจะพอเป็นตัวช่วยให้พิจารณาได้ว่าหมอกับวิศวะอันไหนเรียนยากกว่ากัน แต่นอกจากเนื้อหาวิชาแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่น้อง ๆ ควรนำมาใช้ตัดสินใจด้วยก็คือ เส้นทางอาชีพหลังเรียนจบ เพราะอย่าลืมว่าเราใช้เวลาในรั้วมหาวิทยาลัยเพียง 4-6 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นคืออาชีพที่ต้องตื่นมาทำไปอีกหลายสิบปี

เส้นทางอาชีพของหมอ

หลังจบการศึกษา 6 ปีจากรั้วมหาวิทยาลัย จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อประกอบอาชีพแพทย์ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ “การเป็นแพทย์ใช้ทุน” ที่แพทย์จากมหาลัยรัฐบาลทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลมีการช่วยจ่ายเงินในการเรียน โดยต้องเข้ารับการศึกษาและการฝึกอบรมตามหลักสูตรแพทย์ใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี ภายใต้สัญญาระหว่างแพทย์กับกระทรวงสาธารณสุข โดยในระหว่างนี้จะได้รับค่าตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 50,000-60,000 บาทต่อเดือน หรือหากใครไม่ต้องการเป็นแพทย์ใช้ทุนก็สามารถจ่ายเป็นเงินก้อนหลักล้านบาทให้กับรัฐบาลได้เช่นกัน


หลังจากใช้ทุนเสร็จสิ้น แพทย์สามารถศึกษาต่อเพื่อประกอบอาชีพแพทย์เฉพาะทางได้ ซึ่งใช้เวลาเรียนประมาณ 3-5 ปี โดยแพทย์เฉพาะทางจะมีรายได้สูงกว่าแพทย์ทั่วไป เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 200,000 บาทต่อเดือน หรือหากไม่ต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทาง ก็สามารถไปสมัครเป็นหมอกับโรงพยาบาลเอกชน หรือทำงานในโรงพยาบาลรัฐต่อก็ได้เช่นกัน โดยเงินเดือนจะสูงกว่าการเป็นแพทย์ใช้ทุน แต่ก็จะน้อยกว่าการเป็นแพทย์เฉพาะทาง

เส้นทางอาชีพของวิศวกร

เมื่อได้ทราบเส้นทางอาชีพของแพทย์แล้ว การจะตัดสินใจว่าหมอกับวิศวะเรียนอะไรดี น้อง ๆ ก็ควรที่จะทราบข้อมูลฝั่งวิศวกรด้วย โดยเมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อประกอบอาชีพวิศวกร หลังจากนั้นก็สามารถสมัครทำงานในบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง การผลิต พลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือตามสาขาที่เรียนมาได้ โดยเงินเดือนเริ่มต้นของวิศวกรทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อเดือน


หรือหากเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทอีก 1-2 ปี เพื่อให้ได้ความรู้เฉพาะทางที่ลงลึกมากขึ้น ก็จะทำให้มีรายได้สูงกว่าวิศวกรทั่วไป โดยเงินเดือนเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 60,000-100,000 บาทต่อเดือน

 

มองหาคอร์สเรียนที่ตอบโจทย์ ต้องที่ Applied Physics

ถึงตรงนี้ เมื่อได้คำตอบในใจแล้วว่าหมอกับวิศวะเรียนอะไรดี ก็อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อมุ่งสู่คณะในฝัน ที่ Applied Physics เรามีทั้งคอร์สติวสอบเข้าแพทย์ คอร์สความถนัดแพทย์ และความถนัดวิศวะ เลือกเรียนได้ทั้งที่สาขาและออนไลน์ อัดแน่นด้วยเนื้อหาอัปเดตใหม่ ที่น้อง ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง! สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869, 085-4925599 หรือ แอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)

loading
loading
เพิ่มในตะกร้าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
น้องนาโน
×
สวัสดีครับ มีข้อเสนอแนะ หรือเรียนแล้วไม่เข้าใจ เขียนคำถามมาถามอาจารย์ ผ่านน้องนาโนได้เลยครับ
ถาม "น้องนาโน"
×
เพื่อความรวดเร็วในการตอบกลับ กรุณากรอกข้อมูลจริง หากเป็นสมาชิกกรุณาใช้อีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับเราครับ