เตรียมสอบ TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยงให้เป๊ะ ! บอกครบทุกเทคนิค
สำหรับน้อง ๆ ที่มีฝันอยากเข้าเรียนในคณะแพทย์ ทันตะ เภสัช หรือสายสุขภาพอื่น ๆ ผ่านระบบ กสพท. เชื่อว่าหนึ่งในด่านหินที่ทุกคนต้องผ่านไปให้ได้ก็คือวิชา TPAT1 ความถนัดแพทย์ โดยเฉพาะพาร์ทที่หลายคนอาจจะยังมึน ๆ อย่าง “พาร์ทเชื่อมโยง” หรือที่น้อง ๆ เรียกกันติดปากว่า “GAT แพทย์” ไม่ก็ “ข้อสอบเชื่อมโยง กสพท.”
และเพื่อช่วยให้น้อง ๆ รู้สึกเบาใจขึ้น วันนี้เลยจะมาเจาะลึกการสอบ TPAT1 ในพาร์ทเชื่อมโยง พร้อมเทคนิคปัง ๆ ในการทำข้อสอบเพื่อทำคะแนนได้เต็ม 100 แต่ถ้าใครอยากเสริมความรู้ให้แน่น ก็สามารถแวะมาเรียนคอร์สติว TPAT1 กับ Applied Physics ได้เลย
Table of Contents:
- TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยงคืออะไร ?
- ความสัมพันธ์ในข้อสอบมีอะไรบ้าง ?
- เทคนิคพิชิตข้อสอบเชื่อมโยง
- การคำนวณคะแนน
- ตัวอย่างข้อสอบพร้อมหลักการคิด

TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยงคืออะไร ?
TPAT1 หรือ วิชาความถนัดแพทย์ เป็นหนึ่งในวิชาสำคัญที่ใช้ยื่นคะแนนเข้าคณะในกลุ่ม กสพท. ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ หรือเภสัชศาสตร์ โดยใน TPAT1 จะมีอยู่ 3 พาร์ทหลัก ได้แก่
- พาร์ทเชาวน์ปัญญา (ตรรกะ การคำนวณ)
- พาร์ทจริยธรรมแพทย์
- พาร์ทเชื่อมโยง (ที่เราจะมาโฟกัสกันในบทความนี้)
โดย TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยง คือพาร์ทที่ออกแบบมาเพื่อวัดทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของคนที่จะเป็น “นักเรียนแพทย์” หรือ “บุคลากรสายสุขภาพ” นั่นก็คือ “ทักษะการจับใจความด้วยการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากบทความ” เพราะในชีวิตจริง แพทย์ต้องอ่านข้อมูลผู้ป่วยหรือข้อมูลวิชาการจำนวนมาก แล้วแยกแยะให้ได้ว่าสิ่งไหนเกี่ยวข้องกันบ้าง พร้อมกับเชื่อมโยงสาเหตุ-ผลลัพธ์ หรือข้อมูลมีส่วนเสริมกันอย่างไร รวมถึงยังต้องสามารถอธิบายและสื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจอีกด้วย
ข้อสอบเชื่อมโยง กสพท. จะให้บทความยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ มาพร้อมกับ Keyword (วลี หรือข้อความ) ที่กำหนดไว้ 20 ข้อ ในตารางท้ายบทให้เราตรวจสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยใช้เวลาในการทำทั้งหมด 60 นาที และมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
หน้าที่ของเราคือการ “หาความเชื่อมโยง” ว่า Keyword ไหนเกี่ยวข้องกับ Keyword ไหน และสัมพันธ์กันในรูปแบบใด จากนั้นวาดออกมาเป็นแผนภาพหรือ Flow Chart ตามรูปแบบความสัมพันธ์เพื่อช่วยให้เห็นภาพชัด ๆ ว่า Keyword ไหนเชื่อมโยงกัน และมีลักษณะความสัมพันธ์แบบใด เมื่อวาดภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่อยนำคำตอบเหล่านั้นไปแปลเป็น รหัส 3 ตัว เช่น 03A, 04D, 07F แล้วค่อยย้ายคำตอบที่ได้ด้วยการฝนรหัสลงบนกระดาษคําตอบ TPAT1 ในพาร์ทเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ในข้อสอบมีอะไรบ้าง ?
เมื่ออ่านบทความแล้วเจอ Keyword ที่โจทย์กำหนดไว้ 20 ข้อ ความท้าทายของน้อง ๆ ก็คือ จะต้องเชื่อมโยงให้ได้ว่า Keyword ไหนมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword ไหน และเกี่ยวข้องกันอย่างไร
จากการวิเคราะห์บทความ เราจะสามารถวาดแผนภาพหรือ Flow Chart เพื่อแสดงรูปแบบความสัมพันธ์ของข้อความต่าง ๆ ได้ โดยความสัมพันธ์ที่พบในข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยง จะแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบหลัก ๆ (A, D, F, 99H) เพื่อใช้ในการแปลรหัสเป็นคำตอบต่อไป โดยมีรายละเอียดคือ
1. ความสัมพันธ์แบบ A (ทำให้เกิด)
หมายถึง Keyword หนึ่งส่งผลให้เกิดอีก Keyword หนึ่ง หรือพูดง่าย ๆ คือเป็น เหตุและผล เช่น น้ำท่วมทำให้การเกษตรเสียหาย, พายุส่งผลให้เกิดอุทกภัย
จะเกิดความสัมพันธ์ที่วาดได้คือ ลูกศรธรรมดา ( →)
รหัสที่ใช้คือ: A
คำเชื่อมที่มักจะพบ:
- ทำให้เกิด
- เป็นผลให้
- เพราะ
- ส่งผลให้
- นำไปสู่
- ส่งผลโดยตรงต่อ
2. ความสัมพันธ์แบบ D (องค์ประกอบ)
ในกรณีที่ข้อความหนึ่ง “เป็นส่วนย่อย” หรือ “อยู่ในหมวดเดียวกัน” กับอีกข้อความหนึ่ง เช่น ข้าราชการประกอบด้วยครู พยาบาล ตำรวจ
จะเกิดความสัมพันธ์ที่วาดได้คือ เส้นตรง () โดยเพิ่มจุดปลายเส้นเพื่อกำหนดทิศทาง
รหัสที่ใช้คือ: D
คำเชื่อมที่มักจะพบ:
- ประกอบด้วย
- ได้แก่
- คือ
- อย่างเช่น
- มีลักษณะ
3. ความสัมพันธ์แบบ F (ยับยั้ง)
ความสัมพันธ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อ Keyword หนึ่ง “ขัดขวาง” หรือ “ป้องกัน” ไม่ให้อีก Keyword เกิดขึ้น เช่น มาตรการป้องกันโรคช่วยลดการแพร่เชื้อ
จะเกิดความสัมพันธ์ที่วาดได้คือ ลูกศรกากบาท ()
รหัสที่ใช้คือ: F
คำเชื่อมที่มักจะพบ:
- ยับยั้ง
- ป้องกัน
- ขัดขวาง
- ทำให้...ลดลง
- หยุดยั้ง
4. ความสัมพันธ์แบบ 99H (ไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย)
หาก Keyword ใดไม่มีความสัมพันธ์กับข้อความอื่นในบทความเลย จะถือว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ 99H ที่ใช้ในการแปลรหัสและฝนรหัสต่อไป
จะเกิดความสัมพันธ์ที่วาดได้คือ ไม่มีการโยงใด ๆ
รหัสที่ใช้คือ: 99H
เทคนิคพิชิตข้อสอบเชื่อมโยง
1. อ่านแบบ Skim Reading ก่อน แล้วจึงค่อยอ่านอย่างละเอียด
เมื่อเจอบทความครั้งแรก อย่าเพิ่งรีบลงมือวิเคราะห์ทันที ให้น้อง อ่านแบบ Skim Reading หรือกวาดสายตาเร็ว ๆ เพื่อจับ “ภาพรวม” ของเรื่องก่อน เช่น เรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์อะไร ? เหตุผลหลักคืออะไร ? โครงสร้างบทความแบ่งเป็นกี่ส่วน ?
การ Skim ก่อนจะช่วยให้เรารู้ว่าข้อมูลสำคัญอยู่ตรงไหน เวลาอ่านจริงรอบที่สองที่ต้องไล่อ่านใหม่ทั้งหมดอย่างละเอียดเพื่อหาความสัมพันธ์จริง ๆ จะทำได้เร็วขึ้นมาก
2. ฝึกขีดเส้นใต้ วง Keyword และโยงความสัมพันธ์ขณะอ่าน
ระหว่างที่อ่านบทความรอบละเอียด ให้น้อง ๆ ฝึกขีดเส้นใต้คำเชื่อมและวงรอบ ๆ Keyword และพยายามโยงความสัมพันธ์ระหว่าง Keyword ที่วงไว้ในบทความทันทีระหว่างอ่าน
เช่น หากเห็นข้อความว่า “พายุเตี้ยนหมู่ทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคกลาง” ให้น้อง ๆ ขีดเส้นคำว่า ทำให้เกิด (คำเชื่อม) และวงรอบคำ และ
ที่เป็น Keyword หมายเลขต่าง ๆ ในตาราง และวาดความสัมพันธ์ต่าง ๆ (A,D,F) โดยโยงในเนื้อความทันที
เทคนิคนี้ช่วยให้ไม่ตกหล่น และลดเวลาไล่หาข้อความในบทความซ้ำ ๆ
3. ฝึกวาดตามโครงข้อสอบโดยมองภาพรวมของข้อสอบ
น้อง ๆ หลายคนเวลาทำข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยง จะรีบเชื่อมโยงทีละข้อความตามที่กำหนด โดยไม่ได้มอง “ภาพรวมของบทความ” ว่ากำลังเล่าเรื่องอะไร ไล่เรียงเหตุการณ์แบบไหน มีจุดพลิกผันตรงไหน หรือตอนจบสรุปอะไร ดังนั้น พี่หมอป๋อมจะเน้นสอนเรื่องภาพรวมหรือโครงข้อสอบมาตลอด
ขอแนะนำว่า ให้น้อง ๆ ต้องมาฝึกวาดแผนภาพ หรือ Flow Chart ตามโครงข้อสอบจากง่ายไปยากจนเป็นระดับข้อสอบจริงกับพี่หมอป๋อม
การวาดโดยดูภาพรวมของโครงข้อสอบ นอกจากจะทำให้ความสัมพันธ์ของแต่ละข้อความชัดเจนขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันความผิดพลาดจากการเข้าใจบทความแบบ “แยกส่วน” อีกด้วย ที่สำคัญยังช่วยให้เราตรวจคำตอบซ้ำได้ไวขึ้นและถูกต้อง เพราะเรามองภาพรวมตลอดเวลา ทั้งนี้ต้องมีการตรวจทานก่อนย้ายคำตอบเสมอ
4. ฝึกย้ายคำตอบให้แม่นยำ
ข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยงไม่ใช่แค่เข้าใจบทความอย่างเดียว แต่ต้องสามารถย้ายคำตอบจากบทความไปลงกระดาษคำตอบได้อย่างแม่นยำด้วย หลายคนพลาดเพราะตอนแปลรหัสคำตอบในตารางได้ถูก แต่ตอนฝนรหัสย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบกลับทำผิด เช่น จาก 03A เป็น 03D แทน หรือย้ายคำตอบไม่ทัน แล้วโดนหักคะแนนไปแบบน่าเสียดาย
5. ฝึกจับเวลา
ในการสอบ TPAT1 พาร์ทเชื่อมโยง ที่จริงแล้วน้อง ๆ มีเวลา 60 นาที สำหรับบทความ 2 หน้า เวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก แนะนำว่าเวลาทำแบบฝึกหัด ให้น้อง ๆ จับเวลาเสมอ โดยเฉพาะเวลาอ่านบทความไปจนถึงเวลาฝนรหัสย้ายคำตอบ เพื่อดูว่าเราใช้เวลาไปกับส่วนไหนมากเกินไป
สำหรับเรื่องนี้ แนะนำว่าให้ฝึกแปลรหัสคำตอบลงในตาราง Keyword ท้ายบทความก่อน แล้วค่อยลองฝนรหัสคำตอบที่ได้ในกระดาษคำตอบจำลองแบบจริง เพื่อฝึกนิ้วให้ชิน และตรวจทานการเรียงลำดับให้แม่นยำ
คะแนนคิดยังไง ?
- ตอบถูก 1 รหัส ได้ = (100/ จำนวนรหัสที่ถูกต้อง) เช่น มี 40 รหัส จะได้คะแนนรหัสละ 2.5 คะแนน
- ตอบไม่ครบ ไม่หักคะแนน
- ตอบผิด ตอบเกิน หักรหัสละ 3 คะแนน
- ถ้าคะแนนติดลบในข้อนั้น จะถูกตัดเป็น 0 ทันที (ไม่ลบข้ามข้อ)
ดังนั้น ถ้าให้แนะนำคือ ต้องพยายามตอบให้ครบ แต่ถ้าไม่แน่ใจ “อย่ามั่ว”เด็ดขาด เพราะถ้าผิดอาจโดนหักคะแนนเยอะกว่าได้
ตัวอย่างข้อสอบพร้อมหลักการคิด
ตัวอย่างข้อสอบ
เมื่อนำคดีขึ้นศาลโลกแล้วในที่สุดก็นำมาสู่การที่ศาลโลกมีคำพิพากษา(01)ในเรื่องนี้ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเด็นด้วยกันก็คือพิพากษาให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา (02) ทั้งนี้เนื่องจากศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเนื่องจากฝ่ายไทยมิได้โต้แย้งแผนที่ที่ฝรั่งเศสได้จัดทำขึ้นใหม่ (03) ศาลจึงถือหลักที่ว่า “ใครที่นิ่งจะถูกถือว่ายินยอมถ้าเขาสามารถพูดได้” หรือหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel) นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะฝ่ายไทยเองถึงแม้จะรู้ว่าแผนที่ที่ฝรั่งเศสได้จัดทำขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2450 นั้น มีความผิดพลาดไปจากแผนที่ที่ได้จัดทำเมื่อปี พ.ศ.2447 แต่ไทยก็มิได้โต้แย้งให้เกิดการแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งการไม่ดำเนินการเช่นนั้นโดยหลักของกฎหมายระหว่างประเทศถือว่ายินยอมหรือยอมรับนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ศาลโลกมีคำพิพากษาส่วนคำพิพากษาอีกประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องโบราณวัตถุศาลโลกก็ได้พิพากษาให้ไทยต้องคืนโบราณวัตถุทั้งหลายจากปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา (04)
หมายเหตุ: โจทย์ตัวอย่างมีการทำตัวหนาและใส่เลข Keyword กำกับเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และขณะวาดแผนภาพหรือ Flow Chart จะใส่เลข 2 หลักกำกับพร้อม Keyword แบบย่อ เพื่อใช้แปลเป็นรหัสคำตอบต่อไป
การร่างรหัสคำตอบที่จะระบายลงในกระดาษคำตอบ (พร้อมเฉลย)

หลักการคิด
โจทย์ตัวอย่างที่หยิบมาให้ดูนี้เป็นระดับเบื้องต้นที่มักใช้ในคาบแรกของการเรียน ซึ่งน้อง ๆ คนไหนที่ชอบอ่านบทความหรืออ่านนิยายอยู่แล้ว จะสามารถจับใจความและตีความความสัมพันธ์ได้ค่อนข้างไว แต่ถ้าใครที่ยังไม่ค่อยชินกับการอ่านบทความยาว ๆ เพราะเคยชินกับการอ่านแบบสั้น ๆ เช่น การ์ตูนหรือแชตในมือถือ แนะนำว่าให้เริ่มฝึกแต่เนิ่น ๆ ยิ่งเริ่มเรียนตั้งแต่เทอมต้นของ ม.6 ก็จะมีเวลาค่อย ๆ ปรับจังหวะการอ่านและฝึกฝนแบบฝึกหัดได้ทันเวลาโดยไม่ต้องเร่งมาก
เพราะอย่าลืมว่า ข้อสอบเชื่อมโยง กสพท. เป็นพาร์ทเดียวใน TPAT1 ที่มีคนได้คะแนนเต็มแทบทุกปีนับตั้งแต่เริ่มจัดสอบมาเกือบ 20 ปี ! ถ้าน้องตั้งใจฝึกและเข้าใจหลักการอ่านกับวิเคราะห์ให้เป็นระบบ โอกาสเก็บ 100 คะแนนพาร์ทนี้ก็อยู่แค่เอื้อม
สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการลงคอร์ส TPAT1 (ความถนัดแพทย์) พร้อมกับ TGAT (ความถนัดทั่วไป) สามารถเลือกคอร์สเรียนที่ Applied Physics ได้เลย และยังมีทั้งคอร์สติวสอบ TGAT คู่กับ TPAT1 ให้เลือกเพื่อใช้สอบเข้าในสาขาอื่น ๆ อีกด้วย สอนโดยติวเตอร์ที่มีประสบการณ์ยาวนาน เนื้อหาแน่น ครบ แถมมีทริกและเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย เสริมความมั่นใจให้น้อง ๆ ไปสอบได้อย่างมั่นใจ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869, 085-4925599 หรือ Line: @appliedphysics (มี @ นำหน้า)
ข้อมูลอ้างอิง
- ประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2568 ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 จาก https://assets.mytcas.com/68/T68-COTMES-1.pdf