A-Level คณิต 1 กับ คณิต 2 ต่างกันยังไง? ควรเลือกสอบอันไหนดี | Applied Physics
  กลับสู่หน้าบทความ

A-Level คณิต 1 กับ 2 ต่างกันไหม ? ติวเฉพาะคณิต 1 ได้หรือไม่

 30 เมษายน 2568 13:33:41

การสอบ A-Level คณิตศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาสำคัญสำหรับนักเรียนที่ต้องการใช้คะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งมีให้เลือกสอบทั้งคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ 2 ทำให้น้อง ๆ หลายคนเกิดความสงสัยว่า ต่างกันอย่างไร เราควรเลือกสอบทั้งสองวิชา หรือเลือกอย่างไรอย่างหนึ่ง ถึงจะตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงควรเลือกลงคอร์สติวคณิตศาสตร์แบบไหนดี ถึงจะได้ตรงกับความต้องการ 

นักเรียน ม.ปลายกำลังฝึกทำข้อสอบคณิต 1 A-level

Table of Contents:  

A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ คืออะไร ?

A-Level ย่อมาจาก Applied Knowledge Level เป็นข้อสอบที่วัดความรู้เชิงวิชาการ ที่เน้นการนำความรู้จากหลักสูตรที่เรียนในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ไปปรับใช้จริง โดยสามารถนำคะแนนดังกล่าวไปใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย โดยวิชาที่สอบจะมีทั้งคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2, วิทยาศาสตร์ประยุกต์, เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา, สังคมศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศ

สำหรับการสอบ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 คือข้อสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ ที่ประยุกต์จากคณิตศาสตร์ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีความยากง่ายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะใช้คะแนนคณิตศาสตร์ประยุกต์ตัวไหน จะขึ้นอยู่กับคณะที่ต้องการสอบเข้านั่นเอง 

A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 กับ 2 ต่างกันยังไง ?

หากถามพี่ ๆ ที่มีประสบการณ์การสอบ A-Level มาแล้ว ในเรื่องความยาก-ง่ายของเนื้อหาที่นำมาสอบ ซึ่งหากว่าพูดในเชิงการออกข้อสอบ คงต้องบอกว่ามีเนื้อหาที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้ 

A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1

ออกข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาทั้งคณิตศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์เพิ่มเติมในทุกบทของหลักสูตรการเรียนการสอนในช่วงมัธยมปลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเซต ตรรกศาสตร์ ฟังก์ชัน แคลคูลัส ตรีโกณมิติ เมทริกซ์ เวกเตอร์ สถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งมีเนื้อหาที่ลึกและซับซ้อนมากกว่า 

โครงสร้างข้อสอบ 

  • จำนวนข้อสอบ 30 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือกจำนวน 25 ข้อ อัตนัย 5 ข้อ 
  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน 
  • ระยะเวลาในการสอบ 90 นาที

เนื้อหาที่ออกสอบ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน  จำนวนข้อ

ส่วนที่ 1 : จำนวนและพีชคณิต

ประกอบด้วย เซต ตรรกศาสตร์ จำนวนจริงและพหุนาม ฟังก์ชัน ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ จำนวนเชิงซ้อน เมทริกซ์ และลำดับและอนุกรม

15-17 ข้อ

ส่วนที่ 2 : การวัดและเรขาคณิต

ประกอบด้วย เรขาคณิตวิเคราะห์ และเวกเตอร์ในสามมิติ

3-5 ข้อ

ส่วนที่ 3 : สถิติและความน่าจะเป็น

ประกอบด้วย สถิติ การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น หลักการนับเบื้องต้น และความน่าจะเป็น

6-8 ข้อ

ส่วนที่ 4 : แคลคูลัส

ประกอบด้วย แคลคูลัสเบื้องต้น

2-4 ข้อ


A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2

ออกข้อสอบเฉพาะเนื้อหาของคณิตศาสตร์พื้นฐานเป็นหลัก ได้แก่ เรื่องเซต ตรรกศาสตร์ ความน่าจะเป็น ฟังก์ชัน และสถิติ มีความซับซ้อนและยากน้อยกว่าคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เป็นการวัดความเข้าใจเบื้องต้นของวิชาคณิตศาสตร์ 

 โครงสร้างข้อสอบ

  • จำนวนข้อสอบ 30 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือกจำนวน 25 ข้อ อัตนัย 5 ข้อ 
  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน 
  • ระยะเวลาในการสอบ 90 นาที 

เนื้อหาที่ออกสอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 

จำนวนข้อ

ส่วนที่ 1 : จำนวนและพีชคณิต

ประกอบด้วย เซต ตรรกศาสตร์เบื้องต้น เลขยกกำลัง ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน

14-16 ข้อ

ส่วนที่ 2 : สถิติและความน่าจะเป็น

ประกอบด้วย สถิติ หลักการนับเบื้องต้น และความน่าจะเป็น

14-16 ข้อ


คะแนน A-Level คณิต 1 และ คณิต 2 ใช้ยื่นคณะอะไรได้บ้าง ?

การเลือกสอบ A-Level คณิต 1 หรือ 2 หรือการเลือกเรียนคอร์สติวควรพิจารณาตามเป้าหมายของน้อง ๆ เนื่องจากนำคะแนนไปสอบในคณะที่แตกต่างกันออกไป และแนวข้อสอบก็มีความแตกต่างกันไปตามหลักสูตร   

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ในการยื่น

  • กลุ่ม กสพท. ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ 
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ 
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข จิตวิทยา พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ และสหเวชศาสตร์
  • คณะบัญชี บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ 


บางคณะกำหนดสัดส่วนคะแนน A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ 2 สูงกว่า 30% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบ A-Level คณิต 1 ของปี
2568 อยู่ที่ 20.998 คะแนน ซึ่งผู้สอบเกินครึ่งได้คะแนนต่ำกว่า 30 คะแนน หากสามารถทำคะแนนในวิชานี้ได้มากกว่า 30% ขึ้นไป ก็จะเพิ่มโอกาสในการเข้าคณะที่ต้องการได้มากขึ้น 

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ในการยื่น

  • คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ 
  • คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ 
  • คณะเกษตร วนศาสตร์ 
  • คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน
  • คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม 


เช่นเดียวกันกับ A Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ที่บางคณะจะกำหนดสัดส่วนของคะแนน คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 สูงกว่า 30% เช่นเดียวกัน ซึ่งในการสอบปี
2568 ที่ผ่านมา คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 34.721 คะแนน โดยผู้ที่สอบได้น้อยกว่า 30 คะแนนมีทั้งหมด 53.254% และผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไปมีเพียง 11.046% การทำคะแนนได้สูงจึงเป็นข้อได้เปรียบในการสอบเข้าเช่นเดียวกัน 

หมายเหตุ: มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอาจมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบรายละเอียดของมหาวิทยาลัยที่ต้องการยื่นสมัครอีกครั้ง

โจทย์ A-Level คณิตศาสตร์ 1 ที่นักเรียนลองแก้โจทย์

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ A-Level คณิตศาสตร์

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้ การทำคะแนนสอบ A-Level คณิตศาสตร์ให้อยู่สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการเพิ่มคะแนนให้สูงขึ้นในวิชาที่ค่าเฉลี่ยของผู้เข้าสอบอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีเทคนิคการเตรียมตัวสอบดังต่อไปนี้ 

1. เข้าใจโครงสร้างข้อสอบ

ศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างของข้อสอบว่าเป็นปรนัยหรืออัตนัย รวมถึงจำนวนข้อสอบและเวลา เพื่อที่จะวางแผนในการทำข้อสอบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกทำข้อที่ง่ายก่อน เพื่อที่จะได้คะแนนไวและลดความกดดัน แล้วใช้เวลาที่เหลือทำข้อที่ยากและใช้เวลาในการแก้โจทย์ นอกจากจะทำให้ได้คะแนนที่แน่นอนมาแล้ว ยังช่วยลดความกดดัน ลดความเครียด และเพิ่มความมั่นใจอีกด้วย
 

ในกรณีที่ข้อไหนใช้เวลานานกว่าที่กำหนดไว้ ให้ข้ามไปทำข้ออื่นก่อน แล้วค่อยกลับมาคิดใหม่ แล้วใช้เวลา 10 นาทีสุดท้าย คำนวณคำตอบในข้อที่ยังไม่มั่นใจ 

2. ฝึกทำโจทย์และข้อสอบเก่าให้มากที่สุด

การฝึกตะลุยโจทย์ข้อสอบ A-Level เก่า ๆ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและสร้างความคุ้นเคยของโจทย์ ซึ่งโดยมากแล้ว รูปแบบของโจทย์จะคล้ายคลึงกับปีก่อน แต่จะเปลี่ยนบริบทไปในแต่ละปี 

น้อง ๆ ควรฝึกจากโจทย์ที่ง่ายไปหาโจทย์ที่ยาก และทบทวนวิธีการทำอย่างละเอียด โดยเฉพาะข้อที่ตอบผิด เพื่อที่จะเข้าใจแนวคิดของโจทย์ได้อย่างแม่นยำ ทำให้เวลาสอบจริงจะได้ไม่ลนหรือตื่นเต้นมากจนเกินไปนัก 

3. ฝึกทำโจทย์แบบจับเวลา

การทำข้อสอบเก่า หรือการฝึกทำโจทย์ไม่ว่าจะเป็นคณิต 1 หรือ 2 ควรจะจับเวลาในการทำทุกครั้ง โดยให้น้อง ๆ ตั้งเวลาให้ตรงกับข้อสอบเพื่อฝึกบริหารเวลาและลดความตื่นเต้น เมื่อทำบ่อยครั้งจะช่วยให้สามารถจับทางได้ว่า ข้อไหนควรทำก่อนหรือทำทีหลัง และควรข้ามไปทำข้ออื่นก่อนหรือควรทำในทันที

4. ใช้เทคนิคแก้โจทย์ ทั้งวิธีตรงและวิธีลัด

การคำนวณทางคณิตศาสตร์ไม่มีสูตรสำเร็จที่แน่นอน แต่ควรรู้ว่าเวลาใดควรใช้วิธีตรง และเวลาใดควรใช้วิธีลัดในการคำนวณเพื่อประหยัดเวลา ซึ่งการไปติวสอบวิชาคณิตศาสตร์จะช่วยให้น้อง ๆ มีวิธีการคำนวณที่หลากหลายมากกว่าการเรียนเฉพาะในห้องเรียน 

5. พักผ่อนให้เพียงพอและดูแลสุขภาพ

สิ่งสำคัญที่สุดของการอ่านหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัยในฝัน ไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือและทำข้อสอบเท่านั้น แต่จะต้องเตรียมร่างกายและใจให้พร้อม โดยต้องนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อช่วยให้สมองผ่อนคลาย 

เตรียมตัวสอบ A-Level คณิตศาสตร์อย่างมั่นใจ กับ Applied Physics

การเตรียมสอบ A-Level คณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นคณิต 1 หรือ 2 หากเตรียมตัวให้พร้อม และทำคะแนนได้ดี ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนในคณะที่ต้องการได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคณะที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้น หากน้อง ๆ ต้องการเตรียมสอบให้ได้คะแนนดี Applied Physics ขอเป็นตัวช่วยสำคัญด้วย คอร์สติวคณิตศาสตร์ออนไลน์ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการสอบ A-Level ผ่านคอร์ส AM35 PACK คณิตศาสตร์ TCAS (ENTRANCE)+ตะลุยโจทย์ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ที่ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาแบบเจาะลึก พร้อมฝึกทำข้อสอบอย่างเข้มข้น 

  • ปูพื้นฐานเนื้อหาให้แน่น เข้าใจโครงสร้างข้อสอบอย่างละเอียด
  • แนะนำเทคนิคทำข้อสอบแบบเข้าใจง่าย พร้อมวิธีแก้โจทย์ทั้งแบบตรงและแบบลัด
  • ฝึกทำโจทย์จริง พร้อมเฉลยละเอียด เพื่อให้จับแนวทางข้อสอบได้อย่างแม่นยำ
  • ตะลุยโจทย์ข้อสอบเก่า เพิ่มความมั่นใจให้พร้อมสอบจริง


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอร์สเรียน โทร 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 หรือ 085-4925599 หรือแอดไลน์ @appliedphysics (มี @ นำหน้า)

 

ข้อมูลอ้างอิง

  • โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 จาก https://www.mytcas.com/blueprint/
loading
loading
เพิ่มในตะกร้าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
Line OA @appliedphysics