7 เทคนิคพิชิตข้อสอบพาร์ทเชาวน์ปัญญา สำหรับคนอยากเรียนหมอ
ข้อสอบ TPAT1 กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย) แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ เชาวน์ปัญญา จริยธรรมทางการแพทย์ และพาร์ทเชื่อมโยง สำหรับน้อง ๆ ที่ฝันอยากจะก้าวเข้าสู่คณะแพทยศาสตร์ พาร์ท "เชาวน์ปัญญา" ในการสอบ TPAT1 ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้น้อง ๆ ได้เรียนหมออย่างที่ตั้งใจ ซึ่งจะเป็นการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการใช้ตรรกะ ที่ล้วนเป็นทักษะจำเป็นสำหรับผู้ที่จะก้าวไปเป็นแพทย์ในอนาคต และถ้าน้องคนไหนอยากเสริมความมั่นใจในการสอบ TPAT1 ให้ได้คะแนนสูง ๆ วันนี้มีคอร์ส TPAT1 ที่เรียนสนุกและสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงมาแนะนำกันด้วย
Table of Contents:
- ทำความเข้าใจข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชาวน์ปัญญา
- โครงสร้างข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชาวน์ปัญญา
- 7 เทคนิคลับ พิชิตข้อสอบเชาวน์ TPAT1 ให้คะแนนพุ่งทะลุเป้า
- ตัวอย่างโจทย์พาร์ทเชาวน์ปัญญา (IQ) พร้อมเฉลย

ทำความเข้าใจข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชาวน์ปัญญา
TPAT1 หรือ Thai Professional Aptitude Test 1 เป็นการทดสอบความถนัดเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ทหลัก ได้แก่
- เชาวน์ปัญญา (IQ = 100 คะแนน)
- จริยธรรมทางการแพทย์ (EQ = 100 คะแนน)
- พาร์ทเชื่อมโยง (GAT แพทย์ = 100 คะแนน)
พาร์ทเชาวน์ปัญญา ถือเป็นส่วนสำคัญที่มีน้ำหนักคะแนนสูง โดยมุ่งวัดความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ข้อมูล การใช้เหตุผล และการอ่านจับใจความ ข้อสอบพาร์ทนี้มีทั้งหมดประมาณ 45 ข้อ คิดเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนนจากคะแนนรวม 1,000 คะแนนเมื่อนำมารวมกับผลคะแนน A-Level โดยน้อง ๆ จะมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที
ข้อสอบส่วนนี้ประกอบด้วย 45 ข้อ มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน จากคะแนนรวม 1,000 คะแนนเมื่อนำมารวมกับผลคะแนน A-Level โดยจะมีเวลาในการทำข้อสอบทั้งหมด 75 นาที
โครงสร้างข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชาวน์ปัญญา
โครงสร้างข้อสอบเชาวน์ปัญญาใน TPAT1 แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
เชาวน์คณิตศาสตร์
- ตรรกศาสตร์/ วิเคราะห์เงื่อนไข: การใช้เหตุผลเพื่อสรุปความหรือหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
- คณิตศาสตร์แนวแพทย์: การคำนวณเปอร์เซ็นต์ อัตราส่วน วิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟหรือบทความ
- โจทย์ BMAT: แนวข้อสอบที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อนและประยุกต์ใช้เหตุผล
- อนุกรมตัวเลข: มองหาแบบแผนของลำดับตัวเลข
- อนุกรมรูปภาพ: มองหาแบบแผนของลำดับจากรูปภาพ
- มิติสัมพันธ์: วิเคราะห์รูปทรง การหมุน การพลิกภาพ
เชาวน์ภาษา
- การอ่านจับใจความ: อ่านบทความแล้วตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
- อุปมาอุปไมย/ วิเคราะห์ภาษา: เข้าใจความสัมพันธ์ของคำ และความหมายแฝงของประโยค
ข้อสอบทั้งหมดเป็นแบบปรนัย (Multiple Choice) หรือที่เราเรียกกันว่า “IQ Test” เน้นวัดความแม่นยำและการคิดอย่างรวดเร็วในเวลาจำกัด ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่คนเรียนแพทย์ต้องใช้จริง
7 เทคนิคลับ พิชิตข้อสอบ TPAT1 พาร์ทเชาวน์ปัญญา ให้คะแนนพุ่งทะลุเป้า
สำหรับน้อง ๆ ที่อยากทำคะแนนข้อสอบ TPAT 1 พาร์ทเชาวน์ปัญญาให้ได้ตามเป้า เรามีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำ ดังต่อไปนี้
1. เข้าใจเนื้อหาที่ครอบคลุมข้อสอบทั้งหมดก่อนฝึกจริง
ก่อนเริ่มฝึกทำข้อสอบ น้อง ๆ ควรทำความเข้าใจลักษณะข้อสอบที่เป็นไปได้ทั้งหมดให้ชัดเจนก่อน โดยศึกษาว่าแต่ละส่วนมีเนื้อหาอะไรบ้างที่เคยออกสอบมา มีจำนวนประมาณกี่ข้อ และมีน้ำหนักคะแนนเท่าใด เมื่อเข้าใจภาพรวมดีแล้ว จะช่วยให้วางแผนการฝึกฝนได้ตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. ฝึกทำข้อสอบแบบเจาะจงแต่ละหัวข้อ
แทนที่จะทำข้อสอบทั้งหมดพร้อมกัน ลองแบ่งการฝึกฝนออกเป็นแต่ละหัวข้อ เช่น วันนี้ฝึกทำเฉพาะโจทย์วิเคราะห์ข้อมูล พรุ่งนี้ฝึกทำโจทย์อนุกรม และวันถัดไปฝึกทำโจทย์เชาวน์ภาษา วิธีนี้จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเทคนิคและแนวทางของแต่ละประเภทได้ชัดเจนขึ้น ก่อนจะไปฝึกจับเวลากับข้อสอบรวมแนวคล้ายจริงต่อไป
3. สร้าง Pattern การคิด
ข้อสอบเชาวน์ปัญญามักมีรูปแบบการคิดที่คล้ายคลึงกัน น้อง ๆ ควรฝึกสังเกตและจดจำวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละรูปแบบ เมื่อเจอโจทย์ลักษณะเดียวกันในห้องสอบ จะสามารถนำวิธีที่เคยฝึกมาปรับใช้ได้ทันที ช่วยให้แก้โจทย์ได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
4. ข้อไหนยาก ข้ามก่อน แต่ไม่เว้นว่างส่วนคำตอบ
หากเจอข้อที่ยากหรือใช้เวลาคิดนาน แนะนำให้ข้ามไปทำข้อที่ง่ายก่อน แต่อย่าลืมทำเครื่องหมายและกาคำตอบที่คิดว่าน่าจะถูกที่สุดไว้ด้วย เพราะข้อสอบปรนัยไม่หักคะแนนถ้าตอบผิด หลังจากทำข้อที่มั่นใจเสร็จแล้ว ค่อยกลับมาพิจารณาข้อที่ยากอีกครั้งหากมีเวลาเหลือ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ไม่เกิดความผิดพลาดขณะย้ายคำตอบจากกระดาษทดไปยังกระดาษคำตอบในช่วงท้ายชั่วโมง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะหากย้ายผิดจะเสียหายอย่างมาก
5. ใช้เทคนิค "ตัดตัวเลือก"
สำหรับโจทย์ที่ยาก แทนที่จะพยายามหาคำตอบที่ถูกต้องทันที ลองใช้วิธีตัดตัวเลือกที่แน่ใจว่าผิดออกไปก่อน ซึ่งศัพท์นี้ทางการแพทย์เรียกว่า “Rule out” เพื่อเพิ่มโอกาสเลือกคำตอบที่ถูกต้องได้มากขึ้น
6. จำสูตรพื้นฐานให้แม่นยำ
ทบทวนและท่องสูตรคณิตศาสตร์พื้นฐานให้แม่นยำ โดยเฉพาะเรื่องร้อยละ อัตราส่วน ความน่าจะเป็น และพื้นที่รูปทรงต่าง ๆ เพราะถ้าน้อง ๆ คำนวณได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ก็จะช่วยประหยัดเวลา ทำให้มีเวลาเหลือไปจัดการกับข้อที่ยากและซับซ้อนกว่าได้
7. ฝึกจับเวลาและทำจริงจัง
สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนการสอบจริง และฝึกทำข้อสอบแบบจับเวลา เริ่มจากฝึกทำทีละส่วน แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากเป็นการฝึกจับเวลาทำข้อสอบชุดรวมที่มีแนวโจทย์คล้ายกับการสอบจริง วิธีนี้จะช่วยให้น้อง ๆ คุ้นเคยกับการบริหารจัดการเวลา และลดความกดดันเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์จริงในห้องสอบ
ตัวอย่างโจทย์ข้อสอบความถนัดแพทย์ พาร์ทเชาวน์ปัญญา (IQ) พร้อมเฉลย
กายได้ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นอันใหม่ในบ้านเสียเงินไปทั้งหมด 4,700 บาท โดยเครื่องทำน้ำอุ่นจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 50 ปี ช่างที่ติดตั้งได้แจ้งว่าเครื่องทำน้ำอุ่นอันนี้จะช่วยให้กายสามารถลดค่าไฟได้ 30% ต่อเดือน ซึ่งในปัจจุบันกายต้องจ่ายค่าไฟ 500 บาทต่อเดือน ดังนั้น กายต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไปกี่เดือนถึงจะคุ้มทุน
โจทย์นี้เป็นข้อสอบเชาวน์ปัญญาในหัวข้อ "โจทย์ปัญหาร้อยละและอัตราส่วน" ซึ่งเป็นหัวข้อที่ออกสอบบ่อยในพาร์ทเชาวน์เลขของ TPAT1
หลักการคิด โจทย์นี้เป็นเรื่องการหาจุดคุ้มทุน น้อง ๆ สามารถใช้หลักการง่าย ๆ โดยนำเงินลงทุนทั้งหมดมาหารด้วยเงินที่ประหยัดได้ในแต่ละเดือน ก็จะได้ระยะเวลาที่ต้องใช้จนคุ้มทุนพอดี
1. หาเงินที่ประหยัดได้ต่อเดือน
- ค่าไฟเดิม = 500 บาท/เดือน
- ประหยัดได้ 30% = 500 × 0.3 = 150 บาท/เดือน
- เงินลงทุน = 4,700 บาท
- จำนวนเดือนที่คุ้มทุน = 4,700 ÷ 150 = 31.33 เดือน
เนื่องจากเราไม่สามารถใช้เครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเศษส่วนของเดือนได้ จึงต้องปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็ม ดังนั้นน้อง ๆ จะต้องตอบว่ากายต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่นให้ครบ 32 เดือนถึงจะคุ้มทุนพอดี
คำตอบคือ ข. 32
สำหรับน้อง ๆ ที่มีความฝันอยากเข้าเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ ทาง Applied Physics ได้พัฒนาคอร์ส TPAT1 (ความถนัดแพทย์) ที่เน้นการฝึกทำโจทย์แต่ละประเภทอย่างเข้มข้น พร้อมถ่ายทอดเทคนิคลัดที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำข้อสอบได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เนื้อหาทั้งหมดในคอร์สออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจระบบข้อสอบ และผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยเพิ่มคะแนนวิชาความถนัดทั่วไปของน้อง ๆ ได้จริง
นอกจากนี้ เรายังมีคอร์สติวสอบ TGAT (ความถนัดทั่วไป) โดยทีมติวเตอร์คุณภาพ นำโดย ศ. ดร. นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ และครูพี่บุป (บุปผชาติ สิงโตมาศ) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษที่มีประสบการณ์สูง คอร์สนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบติดคณะอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่ม กสพท. โดยน้อง ๆ สามารถสมัครเรียนทั้ง TPAT1 และ TGAT พร้อมกันได้ในราคาประหยัด สนใจสมัครเรียนหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 และ 085-4925599 หรือแอดไลน์ @appliedphysics (มี @ นำหน้า)
ข้อมูลอ้างอิง
- Top 10 Tips for your medical admission exam. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 จาก https://www.kingcharlescollege.com/10-tips-for-the-medical-admission-exams/.